Group
Decision Support Systems: GDSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
(Group
Decision Support Systems: GDSS)
บทนำ
เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นกับองค์กร
จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม ในอดีตจะต้องนัดประชุม
ซึ่งนับได้ว่าสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย
จึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงรูปแบบการประชุมร่วมกันเสียใหม่
โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group
Decision Support Systems: GDSS) ก็เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้แก้ปัญหา
1.
ความหมายของ GDSS
Huber (1984) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา
และกระบวนการเพื่อสนับสนุน
การประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
DeSanctis, Gallupe (1987) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
หมายถึง ระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง
ดังนั้นองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์
ฮารด์แวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม
จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปได้ด้วยดี
2. ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบ
และสร้างขึ้นโดยเฉพาะ
2. ออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ง่ายต่อการเรียนรู้
และใช้งานได้สะดวก และให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับ
4. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องของการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม
เช่น การทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในความหมายต่าง ๆ ตรงกัน
5. ต้องออกแบบให้ระบบสามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่าง
ๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แนวความคิดที่แตกต่าง และ
การมีอิสระทางความคิด เป็นต้น
3.
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
-
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-
ซอฟต์แวร์ (Software)
-
ผู้ใช้ (User)
-
กระบวนการ (Procedure)
4. ระบบสารสนเทศสำหรับกลุ่มบุคคลในการตัดสินใจ
(Group
Decision Support Systems-GDSS)
GDSS เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งของ DSS ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะโต้ตอบได้
(interactive) ในการสนับสนุนงานแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง
สำหรับผู้ตัดสินใจที่ทำงานกันเป็นกลุ่ม (De Santi & Gallespe, 1987) เป้าหมายของ GDSS คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการประชุมและการตัดสินใจ
หรือทั้งสองอย่าง โดยการช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นภายในกลุ่ม
ช่วยกระตุ้นความคิด ระดมความคิด และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
5.
ประเภทของ GDSS
GDSS
มีหลายประเภท การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์การ
ที่อยู่ของผู้ตัดสินใจ และชนิดของการตัดสินใจ ในที่นี้แบ่งเป็น 4 ประเภท (Stair & Reynolds, 1999)
1) แบบห้องการตัดสินใจ (Decision
room) ห้องการตัดสินใจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ผู้ตัดสินใจอยู่ในห้องเดียวกัน
หรืออยู่ในบริเวณเดี่ยวกัน และจัดให้คนเหล่านี้มาอยู่รวมกันในห้องเดียวกัน
โดยห้องจะมีลักษณะเป็นห้องประชุมซึ่งมีเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น
จอภาพใหญ่ที่ใช้แสดงสารสนเทศต่างๆ
และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำที่นั่งของผู้เข้าร่วม
ประชุมโดยโต๊ะอาจทำเป็นรูปตัวยู (U-shaped)
2) การตัดสินใจโดยใช้เครือข่ายวงแลน (Local
Area Decision Network) เครือข่ายการตัดสินใจแบบนี้ใช้เมื่อกลุ่มผู้ตัดสินใจอาศัยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
หรือบริเวณใกล้เคียงกัน และต้องทำการตัดสินใจบ่อยๆ ส่วนประกอบเหมือนแบบแรก
แต่จะมีกล้องวีดีโอเพื่อจะถ่ายภาพการอภิปรายของห้องหนึ่งและถ่ายทอดไปยังอีกห้องหนึ่ง
รวมทั้งมีเครือข่าย ในการเชื่อมโยงข้อมูลกันโดยอาจใช้วงแลน (Local Area
Network) ถ้าห้องไม่อยู่ห่างไกลกันมาก
เพื่อที่จะทำให้ผู้ตัดสินใจในแต่ละห้องสามารถใช้สารสนเทศพร้อมๆ กันได้
3) การประชุมทางไกล (Teleconferencing)
เป็นการจัดประชุมทางไกล ในกรณีที่ไม่ได้มีการตัดสินใจบ่อยครั้ง
และผู้ตัดสินใจอยู่ไกลกัน การประชุมจะมีการเชื่อมโยง กับห้องการตัดสินใจแบบ GDSS
หลายห้องซึ่งอาจจะ อยู่คนละประเทศหรือคนละมุมโลกก็ได้
วิธีการแบบนี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง
4) เครือข่ายการตัดสินใจ WAN
(Wide Area Decision Network) เป็นเครือข่ายการตัดสินใจในกรณีที่การตัดสินใจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
และผู้ตัดสินใจอยู่ห่างไกลสถานการณ์ดังกล่าวจึงทำให้มีการใช้ GDSS โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายแบบ WAN
6. การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group
Decision)
การตัดสินใจแบบกลุ่มมีข้อดี
คือ ทำให้สามารถเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
และช่วยกันระดมความคิดที่จะแก้ไขปัญหานั้น
โดยการสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาขึ้นมาจากกลุ่มบุคคลเหล่านั้น
ทำให้สามารถลดปัญหาการต่อต้านจากบุคคลที่ไม่เห็นด้วยได้
ข้อเสีย
การตัดสินใจเป็นกลุ่มจะใช้เวลานานกว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว เนื่องจาก
ต้องมีการร่วมแสดงความคิดเห็นสำหรับการตัดสินใจในแต่ละบุคคลอธิบายถึงข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น
สรุปข้อเสียของการตัดสินใจแบบกลุ่มได้
ดังนี้
ไม่สามารถสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของการแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์
สารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจมีน้อย
เนื่องจากต้องรีบหาข้อสรุป
ทีมงานบางคนอาจบิดเบือนสารสนเทศที่รวบรวมมาได้
การตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม
เป็นรูปแบบการพิจารณาที่มีกระบวนการและขั้นตอนมาก
จนส่งผลทำให้การพิจารณานั้นใช้เวลาค่อนข้างยาวนานกว่าการตัดสินใจด้วยคน ๆ เดียว
การดำเนินการประชุมจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว
7. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group
Decision Support System: GDSS)
ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม
และการตัดสินใจเป็นกลุ่มนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มจึงต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือชนิดอื่น ๆ
อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ร่วมตัดสินใจได้ เพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ
และใช้ข้อมูลร่วมกันได้
Huber (1984) หมายถึง
การผสมผสานการใช้งานระหว่างซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา
และกระบวนการเพื่อสนับสนุนการประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
DeSanctis,
Gallupe (1987) หมายถึง ระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องของการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง
ดังนั้นองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
จึงต้องประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้
และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปได้ด้วยดี
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ
ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. จะต้องง่ายต่อการเรียนรู้
และใช้งานได้อย่างสะดวก
5.
มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องของการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากพฤติกรรมของ
ผู้เข้าร่วมการประชุม
ผู้เข้าร่วมการประชุม
6.
จะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กระตุ้น
ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคน
ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องลูก
ข่าย (Client)
ข่าย (Client)
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง 1 เครื่อง
ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server)
3.
ห้องประชุมที่ภายในห้องจะติดตั้งเครื่องมือ
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
4.
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการทำงานกันเป็นระบบเครือข่าย
- ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานส่วนบุคคล กลุ่ม
กระบวนการทำงาน และสามารถทำหน้าที่เฉพาะด้าน
1. มีความสามารถในการสรุปข้อคิดเห็น และการลงคะแนนของสมาชิกในกลุ่มได้ทั้งใน
รูปของตัวเลขและกราฟิก
รูปของตัวเลขและกราฟิก
2. มีความสามารถในการคำนวณแนวโน้มของความเป็นไปได้แต่ละทางเลือก
3. มีความสามารถในการส่งผ่านข้อความ และข้อมูลระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้ รวมถึง
การอำนวยความสะดวกในการค้นหา และเรียกข้อมูลออกมาใช้ได้ด้วย
การอำนวยความสะดวกในการค้นหา และเรียกข้อมูลออกมาใช้ได้ด้วย
- ผู้ใช้ (User)
หมายถึง ผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด รวมถึงผู้ประสานงานหรือผู้ดำเนินการประชุมด้วย
หมายถึง ผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด รวมถึงผู้ประสานงานหรือผู้ดำเนินการประชุมด้วย
- กระบวนการ (Procedure)
ซึ่งจะทำให้การประชุมดำเนินไปอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นขั้นเป็นตอน ทั้งนี้เพื่อต้องการควบคุมให้สถานการณ์การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ซึ่งจะทำให้การประชุมดำเนินไปอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นขั้นเป็นตอน ทั้งนี้เพื่อต้องการควบคุมให้สถานการณ์การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
8. ความสัมพันธ์ระหว่าง GDSS
และ Groupware
Groupware
หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ ที่สนับสนุนการทำงานกลุ่ม
คอยจัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกในระหว่างการทำงานของกลุ่ม
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS) มีความเกี่ยวข้องกับ
“DSS” และ “Groupware” กล่าวคือ GDSS เป็น DSS ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มไม่ใช่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้เพียงคนเดียว
และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า GDSS เป็นประเภทหนึ่งของ DSS
ดังนั้น GDSS จึงเป็นสับเซ็ท (Subset) ของ DSS
9. เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม
ในบางครั้งก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานที่ที่สมาชิกในกลุ่มอยู่ในวันที่จะต้องประชุม
ต้องขึ้นอยู่กับเวลา (Time) และสถานที่ (Place)
ซึ่งเทคโนโลยีส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการเอื้ออำนวยต่อการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
ได้มีการจัดทำตารางเมตริกซ์
2
มิติ มิติที่ 1 แนวตั้ง (Column) แทนเวลา แบ่งเป็นเวลาเดียวกัน และต่างเวลากัน และมิติที่ 2 แนวนอน (Row) แทนสถานที่ แบ่งเป็นสถานที่เดียวกัน
และต่างสถานที่กัน
1.
Same Time/Same Place เวลาและสถานที่เดยวกัน
หมายถึง การที่สมาชิกในกลุ่มได้มีการพบปะเพื่อทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน
และในเวลาเดียวกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยใด
ๆ เนื่องจากเป็นลักษณะการประชุมแบบดั้งเดิม
2.
Same Time/Different Place เวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่กัน หมายถึง การที่สมาชิกอยู่ต่างสถานที่กันแต่จะต้องติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเวลาเดียวกัน
ในกรณีนี้อาจจำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3.
Different Time/Same Place ต่างเวลาแต่สถานที่เดียวกัน หมายถึง การทำงานเป็นกะนั่นเอง สมาชิกในกลุ่มหนึ่งทำงานในกะหนึ่ง
จากนั้นจะฝากข้อมูลบางอย่างไว้เพื่อให้สมาชิกอีกกลุ่มมาดำเนินงานต่อไป
ในกรณีนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถจดจำหรือจัดเก็บข้อมูลการทำงานก่อนหน้าไว้ได้
4.
Different Time/Different Place ต่างเวลาและสถานที่กัน หมายถึง สมาชิกในกลุ่มอยู่ต่างสถานที่กันและการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศนั้นก็ต่างเวลากันด้วย
ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ มีตารางงานที่ไม่ตรงกัน
ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการรับส่งข้อมูลได้
Electronic Meeting System
ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มในลักษณะของการประชุมทั้งที่เป็นการประชุมทางไกลหรือประชุมในเวลาและสถานที่เดียวกัน
โดยต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ที่สมาชิกผู้ร่วมประชุมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน
จำเป็นต้อง
ประกอบไปด้วย
1. ห้องประชุมอิเล็กทรอนิกส์
หรือห้องตัดสินใจ (Electronic Room/Decision Room) ก็สามารถจัด
ได้ว่าเป็น “ห้องสำหรับการตัดสินใจเป็นกลุ่ม” ได้
ภายในห้องจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ทั่วไป
และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะประกอบกันขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการประชุมให้ได้มากที่สุด
2.
ซอฟต์แวร์สนับสนุนการประชุม ควรจะช่วยให้ผู้ประชุมสามารถวางแผนงาน
แสดงหัวข้อการประชุม บันทึกการประชุม แสดงตารางปฏิทินนัดหมาย
ใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันได้
ในระหว่างการประชุมซอฟต์แวร์ควรช่วยให้ผู้ประชุมสามารถจัดการกับข้อคิดเห็นของตนเองได้
3.
อุปกรณ์ทั่วไป และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
ที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่ายและเครื่องแม่ข่าย
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หรือสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
และสามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงจากสมาชิกที่ร่วมประชุมแต่อยู่ต่างสถานที่กันมาแสดงบนจอภาพส่วนกลางได้
การใช้ระบบสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม
หรือระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มในการประชุมอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดการประชุมได้
3 รูปแบบ
Chauffeured รูปแบบนี้ในการประชุม
จะมีบุคคลเพียงคนเดียวที่เป็นผู้ใช้และควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์
บุคคลดังกล่าวจะเรียกว่า “Chauffer” (โชเฟอร์)
โดยจะทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของสมาชิกคนอื่น
ๆ สมาชิกคนอื่นในกลุ่มจะไม่สามารถจัดการหรือใช้งานซอฟต์แวร์และระบบคอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากจะต้องถูกควบคุมการใช้งานโดย
Chauffer การแสดงความคิดเห็นหรือการโต้แย้งใด ๆ จะใช้การพูด
จากนั้น Chauffer จะบันทึกและแสดงผลความคิดเห็นบนจอภาพของสมาชิกทุกคนเหมือนกัน
เสมือนเป็นจอภาพกลาง ในระหว่างการประชุม Chauffer จะเป็นผู้จัดการวาระการประชุมและบันทึกการประชุมดังแสดงในจอภาพกลาง
Support
Style ลักษณะนี้จะคล้ายกับ Chaufeured Style แต่จะต่างกันตรงที่ในแบบ
Support สมาชิกทุกคนสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ของระบบประชุมได้อย่างอิสระ
สามารถบันทึกการประชุมเป็นส่วนตัวได้สามารถจัดการกับหน่วยความจำของเครื่องได้
การประชุมในลักษณะนี้การแสดงความคิดเห็นจะมีลักษณะผสมผสานทั้งแบบการพูดและการพิมพ์ข้อคิดเห็นในระบบคอมพิวเตอร์
Interactive
Style สมาชิกทุกคนสามารถใช้ซอฟต์แวร์และระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มความสามารถและอย่างอิสระ
สามารถบันทึกการประชุมของตนเองได้
สามารถจัดการแสดงความคิดเห็นให้ปรากฎบนจอภาพกลางโดยไม่ระบุชื่อของความคิดเห็นนั้นได้
สมาชิกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถดึงจอภาพกลางมาแสดงที่จอภาพของตนเองได้
สำหรับองค์กรที่มีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ
GDSS
ควบคู่ไปกับ Groupware ในลักษณะการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
องค์กรจะต้องพิจารณาถึงสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมการตัดสินใจแบบกลุ่มทั้งในแง่ของเวลาและสถานที่
Electronic Mail and Messaging System
เป็นระบบที่ใช้เพื่อการส่งข้อความและจดหมายแบบอิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากสมาชิกสามารถฝากข้อความหรือจดหมายไว้ในตู้จดหมายของสมาชิกอีกคนหนึ่งได้ Groupware
ลักษณะนี้จะถูกเลือกใช้เมื่อสมาชิกในกลุ่มต้องทำงานต่างสถานที่และเวลากัน
ไม่สามารถโต้ตอบกันได้แบบตัวต่อตัวหรือเห็นหน้ากัน
Group Calendaring and Scheduling
เป็นระบบปฏิทินแสดงเวลานัดหมายแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทำงานแบบกลุ่ม
ที่อาศัยซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการตารางนัดหมายและแสดงปฏิทินเวลาได้
สมาชิกในกลุ่มจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ชนิดเดียดกันจึงจะสามารถเรียกดูปฏิทินตารางเวลานัดหมายของสมาชิกคนอื่น
ๆ ได้พร้อมกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เพื่อสอบถามวันและเวลาที่ว่างของสมาชิกนั้น
ๆ เลย
Workflow System
เป็นระบบที่ใช้ติดตามความเคลื่อนไหวหรือความก้าวหน้าของงานในแต่ละขั้นตอน
ระบบดังกล่าวนี้ต้องอาศัยซอฟต์แวร์คอยจัดการ
เหมาะสำหรับหัวหน้าโครงการที่จะคอยตรวจสอบความคืบหน้าของงานว่าดำเนินการไปได้มากน้อยเพียงใดมีการล่าช้าที่ขั้นตอนใด
ระบบ Workflow
จะช่วยให้หัวหน้ากลุ่มหรือหัวหน้าโครงการสามารถจัดการการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้รวดเร็วมากขึ้น
สมาชิกในกลุ่มสามารถส่งเอกสารรายงานประจำสัปดาห์ได้แบบอิเล็กทรอนิกส์
10. การพัฒนาและความสำเร็จของ GDSS
1.
ระบบ GDSS จะต้องการตัดสินใจเลือกที่จะสร้างห้องประชุมใหม่ หรือจะใช้ห้องปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม
หรือจะขอเช่าสถานที่จากที่อื่น ๆ
2.
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่จะนำมาติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วมประชุม
3.
การพัฒนากระบวนการดำเนินการประชุมที่เหมาะสมกับหัวข้อการประชุมนั้น
ๆ
4.
การฝึกอบรมบุคลากรให้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในที่ประชุม
(Facilitator
Training)
5.
การจัดวางทุกอย่างที่กล่าวมา
ให้มีความลงตัวมากที่สุด
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ขอยกประสบการณ์การดำเนินงานด้านการวางระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบของกลุ่มบริษัท
IBM
ซึ่งได้พบข้อบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง
ๆ มากมาย ดังต่อไปนี้
1.
จะต้องพิจารณาถึงตัวองค์กรที่เป็นผู้ว่าจ้างให้พัฒนาระบบ
GDSS
ขึ้น
2.
พิจารณาว่าผู้บริหารคนใดที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้พัฒนา
ระบบ
เพื่อจะได้ติดต่อกับผู้บริหารคนนั้นได้ทันที
3.
พิจาณาถึงความรู้สึกสะดวกสบายของผู้เข้าร่วมการประชุมในกรณีที่ต้องนั่งประชุมกันเป็น
เวลานาน ๆ
4.
พิจารณาเงินที่ลงทุนไป
กับประโยชน์ที่ได้รับกลับมาว่าคุ้มค่ากันหรือไม่ อย่างไร
5.
พิจารณาถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในห้องตัดสินใจ
6.
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ GDSS
จะต้องมีส่วน Interface ที่น่าสนใจ
ดึงดูดให้ผู้ใช้รู้สึกดี
ในขณะใช้งาน
7.
ระบบ GDSS
ต้องมีความสามารถที่ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุม เสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ
ได้โดยไม่
ต้องระบุนาม
8.
สามารถกำหนดให้ระบบ GDSS
เลือกที่จะสนับสนุนการประชุมได้หลากหลายประเด็น
ปัจจัยอื่น ๆ
ที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จในการสร้างระบบ GDSS
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบ
(Design)
- พิจารณาให้มีการส่งเสริมการตัดสินใจอย่างไม่มีโครงสร้างได้
- สามารถออกความคิดเห็น หรือลงคะแนนเสียงได้โดยไม่ต้องออกนาม
- สามารถจัดการผลกระทบที่เกิดจากการร่วมประชุมโดยบุคคลหลายระดับ
ตั้งแต่ระบบผู้บริหารระดับสูงลงไปจนถึงผู้บริหารระดับล่าง
- ให้ระบบสามารถใช้ได้โดยง่าย
- สามารถออกความคิดเห็น หรือลงคะแนนเสียงได้โดยไม่ต้องออกนาม
- สามารถจัดการผลกระทบที่เกิดจากการร่วมประชุมโดยบุคคลหลายระดับ
ตั้งแต่ระบบผู้บริหารระดับสูงลงไปจนถึงผู้บริหารระดับล่าง
- ให้ระบบสามารถใช้ได้โดยง่าย
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการนำระบบไปใช้
(Implementation)
- จัดเตรียมการฝึกอบรมวิธีใช้ให้ครอบคลุมระบบ
GDSS อย่างทั่วถึง
- ต้องเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
- จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างครบครัน
- สามารถทดลองควบคุมระบบ GDSS
ได้ เพื่อความแน่ใจในประสิทธิภาพการ
ทำงานจริงเมื่อถึงเวลาประชุม
ทำงานจริงเมื่อถึงเวลาประชุม
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดการระบบ
(Management)
- ผู้ใช้ต้องสามารถมั่นใจในประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้
กล่าวคือ
ระบบจะต้องทำงานได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
ระบบจะต้องทำงานได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
- ต้องจัดการปรับปรุงให้ระบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
โดยนำ Feedback
ที่ได้จากการประชุมที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง มาปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ที่ได้จากการประชุมที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง มาปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอ
- ทีมงานที่ดูแลระบบ GDSS ขององค์กรจะต้องหมั่นตรวจสอบความทันสมัย
ของเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ
ของเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ
11.
ประโยชน์ของการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision)
ในบางครั้งการตัดสินใจดำเนินการบางอย่างในองค์กรขนาดใหญ่
อาจไม่สามารถกระทำได้เพียงบุคคล คนเดียว ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ดังนั้น
ประโยชน์ของระบบ GDSS มีดังนี้
1. สนับสนุนการประมวลผลแบบคู่ขนาน
2. การประชุมร่วมของสมาชิกกลุ่มและการทำงานร่วมกัน
3. เพิ่มศักยภาพของการแสดงความคิดเห็น
4. อนุญาตให้กลุ่มสามารถใช้เทคนิคการแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง
5. ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอก
6. การติดต่อสื่อสารไม่ต้องเป็นแบบตามลำดับ
7. ให้ผลลัพธ์จากการออกเสียง
8. สามารถวางแผนล่วงหน้าในการประชุมกลุ่มได้
9. ผู้เข้าประชุมสามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ทันที
10. สามารถเก็บข้อมูลในการประชุมไว้ในการพิจารณาหรือวิเคราะห์ครั้งต่อไปได้
อ้างอิง
ANGKANA.
Group Decision Support Systems: GDSS.
สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560, จาก
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjjh4virNzRAhVKQ48KHRF5Cg0QFggqMAM&url=http%3A%2F%2Fwww.stjohn.ac.th%2Fengineer%2Finformation%2520technology%2Ffile%2FDownload%2Fchapter6.ppt&usg=AFQjCNHGhHCem9R1mrRp2-6UaINPqPpghg
nutthayawatee
muanmanus. (2550). Group
Decision Support Systems: GDSS.
สืบค้นเมื่อวันที่
Support-systems-gdss.html
มหาวิทยาลัยนอร์ท
– เชียงใหม่. ระบบสารสนเทศสำหรับกลุ่มบุคคลในการตัดสินใจ
(Group Decision
Support
Systems-GDSS). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560,
จากhttp://elearning.northcm.ac.th/mis/content.asp?ContentID=73&LessonID=9